ระดับประถม

                                                                       แนวคิดหลักในการจัดการศึกษา

                                                                                                     ระดับประถม (Primary Level)

                                                                                             การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

                                                                                               - Model 777

                                                                                               - Design Thinking Process

                                                                                               - Project based learning

 

                                                                                              ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและไวยากรณ์ 

                                                                                             (Grammar and Communicative Approach)

                                                                                              - My First English Adventure by Dr.Yael Bejarano

                                                                                              - Grammar ป.1 - ป.3 : Oxford book

                                                                                                                ป.4 - ป.6 : Cambridge book

 

     แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

           การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นเป้าหมาย คือ มุ่งเน้นผลที่จะเกิดกับผู้เรียน คือ มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา และการใช้ชีวิต เป็นการเรียนการสอนที่เน้นชีวิตจริง เรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริง เป็นการเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การเรียนเพื่อรู้เท่านั้น 

          หลักสูตรฐานสมรรถนะ จะกำหนดมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standards) ขึ้นเป็นสมรรถนะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ

          1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามวิชาหรือคร่อมวิชา คือเป็นสมรรถนะที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

          2. สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency) เป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา/สาขาวิชาที่จำเป็นสำหรับวิชานั้น ๆ ซึ่งสมรรถนะทั้ง 2 ประเภทนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก หรือสมรรถนะเฉพาะ ต่างก็มีระดับตั้งแต่ง่ายไปยาก ซึ่งหลักสูตรจะกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบไต่ระดับ ไปตามระดับความสามารถของตน

 

          แนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ

          - ใช้งานเดิม ต่อเติม / เสริมสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกสมรรถนะ หรือต่อยอดโดยเพิ่มจากงานเดิมให้สอดคล้องกับบทเรียนเข้าไป เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะนั้นเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้มข้น มีความหมาย และเกิดสมรรถนะที่ต้องการ และไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย

          - ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ต่าง ๆ มาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสมรรถนะที่สอดคล้องกัน และเพิ่มเติมกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะนั้น ให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อันจะส่งผลให้การเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนรู้ ที่ใช้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย

          - สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวชี้วัด เป็นการจัดการเรียนรู้โดยนำสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาเป็นตัวตั้งและพัฒนาตัวชี้วัดที่สอดคล้องกัน มาออกแบบการสอนร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระ และทักษะตามที่ตัวชี้วัดกำหนดไปพร้อม ๆ กันกับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่ต้องการ

        - สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน เป็นการสอดแทรกสมรรถนะที่ส่งเสริมในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพมากขึ้น เป็นการใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ ทำอยู่แล้ว เป็นสถานการณ์ในการฝึกฝนสมรรถนะ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่ต้องการแล้วยังช่วยทำให้การทำกิจวัตรประจำวันของผู้เรียนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

(อ้างอิงจาก: เอกสารการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของรองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี และเอกสารการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา)

 

 

 

 

Visitors: 572,603